Happy Apple

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

บทความที่ 2 ประเพณีไทย

ภาคเหนือ

วิธีการเล่น

ภาคเหนือ
เมื่อถึงเวลาปล่อยว่าว ชาวบ้านก็จะล้อมวงเข้ามาดูอย่างใกล้ชิด บ้างก็ช่วยถือไม้ค้ำยันเพื่อช่วยให้ว่าวทรงตัวได้ จากนั้น ถ้าเป็นว่าวไฟก็จะเอาเชื้อเพลิงคือผ้าชุบน้ำมันยางเผา หรือใช้ชันหรือที่เรียกว่าขี้ขะย้าเผาเพื่อให้เกิดควันแล้วปล่อยควันไฟเข้าไปอัดในว่าว จนว่าวลอยตัวและตึงเต็มที่ เมื่อถึงตอนนี้ ชาวบ้านก็ช่วยกันมากขึ้น บางคนก็ถือวงปาก บางพวกก็คอยให้กำลังใจอยู่รอบข้าง โดยมีขบวนแห่กลองสิ้งหม้องและฟ้อนรำกันอย่างสนุกสนาน เมื่อว่าวลอยตึงเต็มที่ ก็จะนำประทัดหรือหางว่าวมาผูกติดกับวงปาก ปลดไม้ค้ำยันออก และปล่อยขึ้นไป ถ้าเป็นการแข่งขันก็จะดูว่าว่าวหรือโคมของใครสวยหรือไม่ โดยดูตั้งแต่ ขนาด รูปทรงของว่าว การลอยตัว และลูกเล่นต่าง ๆ ที่ผูกติดวงปากของว่าวหรือโคมลอย
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การปล่อยว่าวหรือโคมลอยนั้น นิยมเล่นหรือแข่งขันกันในเทศกาลงานประเพณีสำคัญ ๆ ของหมู่บ้าน เช่น วันเข้าพรรษา วันออกพรรษา ประเพณียี่เป็ง หรืองานบุญต่าง ๆ ไม่มีข้อจำกัด

ภาคกลาง
สาระ
การปล่อยว่าวหรือโคมลอยนี้ ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่า เพื่อให้ว่าวได้นำเอาเคราะห์ร้ายภัยพิบัติต่าง ๆ ออกไปจากหมู่บ้าน ดังนั้นว่าวหรือโคมลอยที่ปล่อยขึ้นไป ถ้าไปตกในบ้านใครบ้านนั้นต้องจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์เพื่อล้างเสนียด จัญไรทั้งปวงออกไป นอกจากนี้ ยังถือกันว่าเป็นการทำเพื่อบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และเพื่อความสนุกสนาน สร้างความสามัคคีในหมู่บ้านอีกด้วย 

ความสำคัญ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง มีชื่อเดิมที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนาม คือ ศาลเทพเจ้าจอมเมือง ตั้งอยู่บริเวณต้นศรีมหาโพธิ์ภายในบริเวณป้อมวิเชียรโชฏก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร
ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแกะสลักด้วยไม้โพธิ์ ความสูงประมาณ ๑ เมตร กว้างประมาณ ๑ ศอกเศษ ประดิษฐานอยู่ในศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เจ้าพ่อหลักเมืองนี้เป็นที่เคารพสักการะของชาวสมุทรสาครและจังหวัดใกล้เคียง โดยเฉพาะชาวประมงและคนไทยเชื้อสายจีนจะให้ความเชื่อถือศรัทธามาก ก่อนออกเรือหาปลาทุกครั้งจะต้องมีการจุดประทัดเป็นการเซ่นไหว้สักการะทุกครั้ง

พิธีกรรมและกิจกรรม
ประชาชนจะอัญเชิญองค์เจ้าพ่อหลักเมืองประทับเกี้ยวลงเรือประมงซึ่งประดับด้วยธงทิวสวยงาม แห่ไปตามแม่น้ำท่าจีนจากฝั่งตลาดมหาชัยไปยังฝั่งท่าฉลอมไปขึ้นฝั่งที่บริเวณวัดแหลมสุวรรณาราม ตำบลท่าฉลอม และอัญเชิญเจ้าพ่อเเห่ไปตามถนนถวายจนถึงวัดสุทธิวาตวราราม (วัดช่องลม) เพื่อให้ประชาชนได้สักการะบูชา แล้วจึงอัญเชิญกลับมาประทับที่ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อให้ประชาชนสักการะบูชา สรงน้ำ ปิดทอง
ภาคอีสาน

ความสำคัญ

วันเข้าพรรษา ตามประเพณีทางศาสนาแต่เดิม ประชาชนนำเทียนที่หล่อและแกะสลักสวยงามถวายพระสงฆ์ เพื่อจุดบูชาระหว่างเข้าพรรษา ต่อมาจัดให้มีการประกวดต้นเทียนพรรษาโดยแบ่งเป็น ๓ ประเภทได้แก่ ประเภทมัดรวมติดลาย ประเภทติดพิมพ์ และประเภทแกะสลัก ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดเป็นงานประจำปีและงานระดับชาติ โดยเพิ่มกิจกรรมและระยะเวลาการจัดงาน เช่น มีการสมโภชเทียนพรรษาพระราชทาน จัดงานพาแลง แสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นเมือง และการประกวดธิดาเทียน

พิธีกรรม

๑. ชาวบ้านแต่ละคุ้มจัดวัสดุอุปกรณ์ในการหล่อเทียน จัดทำต้นเทียนทั้งแกะสลักและติดพิมพ์
๒. รวมเทียนที่ตกแต่งแล้ว ก่อนพิธีเปิดงานแห่เทียน ๑ วัน
๓. จัดประกวดโดยแบ่งเป็นประเภท
๔. ถวายต้นเทียนพรรษาแก่วัด และเก็บรักษาไว้จัดในปีต่อไป

ภาคใต้

ความสำคัญ

ชาวเลเชื่อว่าการลอยเรือ จะเป็นเครื่องชี้ว่า การทำมาหากินจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จ

พิธีกรรม

การลอยเรือของชาวเลทำกันปีละ ๒ ครั้ง คือในเดือน ๖ (พฤษภาคม) และเดือน ๑๑ (พฤศจิกายน) ในวันขึ้น ๑๓ ค่ำ ชาวเลจะหยุดงานทุกชนิด เพื่อเตรียมขนมนมเนย ข้าวตอก ดอกไม้เพื่อเตรียมไหว้ทวด และเตรียมปัดกวาดแผ้วถางบริเวณ "หลาทวด" การเตรียมงานดังกล่าวจะเริ่มตั้งแต่เช้าถึงเย็น เมื่อเสร็จการเตรียมงานแล้วประมาณ ๓ โมงเย็น ชาวเลทั้งหลายจะไปพร้อมกันณ บริเวณพิธี โดยไปยืนล้อมรอบ ๆ หลาทวดโดยพิธีกรประจำหมู่บ้าน ซึ่งเรียกว่า "โต๊ะหมอ" เป็นคนทำพิธี
พิธีจะเริ่มโดยชาวเลทั้งหลายนำข้าวตอกดอกไม้และขนมไปวางบนหลาทวด แล้วจุดธูปเทียนอธิษฐาน เพื่อให้ดวงวิญญาณทวดมีความสุข และขอความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง จากนั้นทุกคนจะเสี่ยงเทียน คืออธิษฐานขอให้เทียนเป็นเครื่องชี้บอกดวงชะตาของตนเองและครอบครัว พร้อมทั้งการประกอบอาชีพ คือ ถ้าการประกอบอาชีพและชีวิตครอบครัวราบรื่น ขอให้เปลวเทียนโชติช่วงสว่างไสว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น